ปกติแล้วทุกคนจะรู้กันดีว่ากระต่ายเป็นสัตว์ที่เกี่ยวพันกับวิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์ เพราะเป็นสัตว์ที่ถูกล่าเพื่อนำมาเป็นอาหาร แต่ในปัจจุบันกระต่ายได้กลายมาเป็นสัตว์เลี้ยงของมนุษย์ เป็นสัตว์สวยงามที่เลี้ยงไว้เป็นเพื่อนเล่น เป็นเพื่อนคลายเหงา แต่ผู้เลี้ยงบางคนยังไม่ทราบถึงโรคต่าง ๆ ที่มีในกระต่าย ทาง smileworldz.com จึงได้นำข้อมูลเกี่ยวกับโรคที่น้องกระต่ายอาจเป็นมาให้ได้ทราบ ไปดูกันค่ะว่าจะมีโรคอะไรบ้าง

1.พาสเจอร์เรลโลลิส (Pasturellosis)

               โรคแรกมักพบบ่อยและเป็นปัญหาที่สำคัญในกระต่าย โรคนี้มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ พาสเจอเรลลา มัลโตซิดา ซี่งทำให้กระต่ายป่วยและมีอาการแตกต่างกันตามอวัยวะที่ติดเชื้อ

• หวัด จะมีอาการจามบ่อย ๆ มีน้ำมูกไหลออกจากช่องจมูก หายใจไม่สะดวก จมูกและเท้าหน้าจะเปียกชุ่มและมีน้ำมูกตด เนื่องจากกระต่ายใช้เท้าหน้าเช็ดจมูก การรักษา ให้ยากิน หรือถ้าไม่แน่ใจให้รีบนำไปปรึกษาสัตวแพทย์

• ปอดบวม หากเป็นกับลูกกระต่ายถ้าเป็นโรคนี้ส่วนใหญ่จะตาย ส่วนกระต่ายใหญ่จะมีโอกาสรอดเพียง 75 % เกิดจากการเป็นหวัดแล้วลุกลามเข้าสู่ปอด กระต่ายจะหายใจ ลำบาก หอบ และอาจหายใจด้วยท้อง ริมฝีปากและเปลือกตาจะมีสีคล้ำ ในระยะแรกจะมีไข้สูง เบื่ออาหารและนอนหมอบนิ่ง ดังนั้นถ้าพบอาการเช่นนี้ในกระต่ายควรรีบนำกระต่ายไปพบ สัตวแพทย์ในทันที

• ตาอักเสบ อาการนี้จะตามมาหลังจากที่กระต่ายเป็นหวัด เนื่องจากกระต่ายชอบใช้เท้าหน้า เช็ดจมูก ทำให้เชื้อโรคจากจมูกเข้าสู่ตาได้ง่าย อาการเริ่มแรกคือหนังตาและตาขาว อักเสบ บวมแดง บางครั้งมีหนอง ส่วนแก้วตาจะอักเสบและขุ่นขาว ถ้าไม่รีบรักษาอาจทำให้ตาบอดได้

• มดลูกอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อหลังคลอดลูกหรือจากการผสมพันธุ์ ผนังมดลูกจะเกิดการอักเสบ มีหนองภายในโพรงมดลูกและอาจพบหนองถูกขับออกมาทางอวัยวะเพศ มักมีไข้สูง คลำตรวจจะพบมดลูกขยายใหญ่ การรักษา ทำได้ยากมาก และกระต่ายมักจะเป็นหมันจึงควรคัดทิ้ง

• อัณฑะอักเสบ เกิดจากติดเชื้อที่อัณฑะ ทำให้ลูกอัณฑะขยายใหญ่ และมีหนองเมื่อจับที่อัณฑะจะรู้สึกร้อนกว่าปกติ การอักเสบมักลุกลามไปที่อวัยวะเพศ ทำให้สามารถติดต่อได้ โดยการผสมพันธุ์ การรักษา มักไม่ได้ผล ฉะนั้นควรคัดทิ้ง

โรคของกระต่ายที่ควรรู้

2.สแตฟฟิลโลคอคโคซีส (Staphylococcosis)

            โรคนี้มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ สแตฟฟิลโลคอคคัส ออเรียล ทำให้กระต่ายป่วยและมีอาการต่าง ๆ

• ฝีหนองใต้ผิวหนัง เป็นการติดเชื้อที่ผิวหนัง ทำให้เป็นหนอง ซึ่งมีเปลือกหุ้ม เมื่อฝีสุกเปลือกฝีส่วนหนึ่งจะบางลง และแตกออกมีหนองไหลออกมา การรักษา ต้องรอให้ฝีสุกและเจาะเอาหนองออก ขูดเปลือกฝีด้านในให้สะอาดแล้วทาด้วยทิงเจอร์ไอโอดีน

• เต้านมอักเสบ จะมีอาการเต้านมร้อน บวมแดง มีไข้ หากกระต่ายเป็นอย่างรุนแรง เต้านม จะมีสีคล้ำ เย็น และแข็ง ถ้าพบอาการเช่นนี้ควรคัดทิ้งหรือถ้าไม่แน่ใจควรรีบปรึกษาสัตวแพทย์

• ข้ออักเสบ หากเกิดบาดแผลที่ผิวหนังบริเวณฝ่าเท้าแล้วเชื้อโรคลุกลามเข้าสู่ข้อเท้าทำให้ข้อบวมแดง เจ็บปวด กระต่ายอาจมีไข้และมีบาดแผลที่ฝ่าเท้า การรักษา ทำความสะอาดแผล ทาด้วยทิงเจอร์ไอโอดีน ถ้ามีหนองในข้อจะรักษาได้ยากและอาจจำเป็นต้องตัดขาเหนือข้อที่อักเสบ ควรป้องกันดูแลพื้นกรงอย่าให้มีส่วนแหลมคมยื่นออกมา

3.โรคบิด (Coccidiosis)

เกิดจากเชื้อโปรโตชัวพวกไอเมอร์เรีย การติดต่อจะเกิดจากโอโอซิส (Oocyst) ของเชื้อที่ปนมากับอาหารและน้ำ อาการถ้าเป็นน้อยจะไม่แสดงอาการ แต่ลูกกระต่ายอาการที่มักพบจะทำให้น้ำหนักลด ท้องเสีย อาจถ่ายเป็นน้ำหรือมีเลือดปน และอาจทำให้ตายได้ การรักษา เลือกใช้ยาในกลุ่มซัลฟา (Sulfa) หรือแอมโปรเลียม (Amprolium )

4.โรคพิซเชอร์ (Tizzer ‘s disease)

เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชชื่อ แบซิลลัส ฟิลลิฟอร์มิส มักพบในกระต่ายที่มีอายุ 7-12 สัปดาห์มากที่สุด จะมีอาการ ท้องเสีย ถ่ายเป็นน้ำหรือเลือด ส่วนในรายที่เกิดอย่างเฉียบพลันจะมีเลือดออก จากลำไส้ใหญ่ กระต่ายจะตายเนื่องจากเสียน้ำและเลือดมาก การรักษา ให้ยาออกซี่เตตร้าชัยคลีน (Oxytetracyclin) ละลายน้ำให้กิน

โรคของกระต่ายที่ควรรู้

5.โรคติดเชื้อ อี.โค.ไล (Colibacillosis)

               เกิดจากการเพิ่มจำนวนของเชื้อ E.coli ในทางเดินอาหาร กระต่ายจะมีอาการท้องเสียอย่างรุนแรงและตายได้ การรักษา แก้ไขตามอาการอาจให้ยาปฏิชีวนะเพื่อลดจำนวนแบคทีเรียในลำไส้ ให้น้ำเกลือ ลดอาหารข้น เพิ่มอาหารหยาบ

6.เอ็นเทอร์โรท๊อกซีเมีย (Enterotoxemia)

เกิดจากเชื้อคลอสติเดียม (Clostridium spp.) ทำให้กระต่ายท้องเสียหรือตายอย่างเฉียบพลัน การรักษา ทำเช่นเดียวกับโรคติดเชื้ออีโคไล

7.ไรในหู (ear mange or ear canker)

               เกิดจากไรพวกโชรอบเตส แคนิคุไล(Psoroptes caniculi) อาการจะเห็นแผ่นสีน้ำตาลคล้ายขี้หูซ้อนเป็นชั้น ๆ ที่ด้านในของใบหู จะมีตัวไรขนาดเล็กสีน้ำตาลจำนวนมาก จะมีอาการคันหูทำให้มันสั่นหัวและใช้เท้าเกาหู บางตัวเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย ทำให้มีหนองและมีกลิ่นเหม็น การรักษา ทำความสะอาดด้านในของใบหูเช็ดด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกใชด์(H202) แล้วทาด้วยขี้ผึ้งกำมะถันให้ทั่ว ควรป้องกันโดยการตรวจหูกระต่ายเป็นประจำและทำความ สะอาดกรงและอุปกรณ์การเลี้ยงเสมอ ๆ

8.ไรที่ผิวหนัง (skin mange)

               เกิดจากไรพวก Sarcoptes scabei , var. cuniculi, Notedes cati var. caniculi  จะมีอาการผิวหนังเป็นสะเก็ดหนาและย่น ขนร่วง พบมากที่ปลายจมูก และขอบใบหู การรักษา ขูดผิวหนังให้สะเก็ดหลุดออก ทาด้วยขี้ผึ้งกำมะถัน ถ้ายังไม่หายควรปรึกษาสัตวแพทย์ การป้องกันและควบคุมทำเช่นเดียวกับโรคไรในหู

ใครที่เลี้ยงกระต่ายอยู่ อย่าลืมสำรวจพฤติกรรมของน้องดูนะคะ ว่ามีอาการที่อาจจะส่งผลต่อโรคดังกล่าวหรือไม่ ถ้ามีก็อย่าได้รอช้า รีบพาน้องไปพบแพทย์ เพื่อรักษาให้ไวเลย

แนะนำเกม น่าเล่น

ปัจจุบันวงการเกมออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นเกมมือถือหรือเกมลักษณะอื่น ๆ ถือว่ามีการพัฒนาแบบก้าวกระโดด และได้รับความสนใจจากคนทั่วโลก ในระดับที่สูงมากขึ้นเรื่อย ๆ แบบไม่มีลด แน่นอนว่าเกมมือถือมันมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมีเกมรูปแบบใหม่ ๆ ออกมาเสริมความสนุกแบบไม่รู้จบ วันนี้เรา เลยขอแนะนำ 4 เกมมือถือน่าเล่น ให้สายเกมเมอร์ลองไปโหลดเล่นตามกันดู ส่วนจะมีเกมไหนบ้าง ตามไปดูลิสต์พร้อมกันได้เลย

4 เกมมือถือน่าเล่น
4 เกมมือถือน่าเล่น